เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Mental Retardation) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องในการทำงานของกระบวนการทางปัญญา (cognitive functioning) และมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัว (adaptive behaviors) ตั้งแต่ 2 ประการขึ้นไป ในอดีตได้กำหนดให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาคือเด็กที่มีระดับ IQ หรือ ความฉลาดทางสติปัญญาต่ำกว่า 70 คะแนน (IQ ของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 100 คะแนน)
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะเรียนรู้เกี่ยวกับการลุกขึ้นนั่ง การคลาน หรือการยืน ช้ากว่าเด็กทั่วไป และเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาอาจแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- มีพัฒนาการในการพูดที่ล่าช้า
- เรียนรู้เกี่ยวกับกฎของสังคมได้ยาก
- มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหา
- มีพัฒนาการทางด้านพฤติกรรมการปรับตัวที่ล่าช้า เช่น ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง และทักษะการดูแลตัวเอง
- ขาดทักษะทางสังคม
LD หรือ Learning Disabilities คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความบกพร่องในการรับรู้ข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้ในการฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนวณ ซึ่งไม่ใช่ความบกพร่องทางสติปัญญา และไม่ได้เกิดจากการถูกละเลย ไม่ใส่ใจ ถูกทอดทิ้ง ขาดโอกาส หรือพิการ เช่น ตาบอด แขนขาพิการ เป็นต้น และความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังคงมีอยู่แม้จะได้รับการบำบัดแล้วอย่างต่ำ 6 เดือนก็ตาม โดยความบกพร่องทางการเรียนมี 3 ด้าน
1. ความบกพร่องด้านการอ่าน
เด็กมีความบกพร่องในการจำพยัญชนะ สระ อ่านหนังสือไม่ออก
2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
เด็กมีความบกพร่องในการเขียน เขียนไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ
เด็กมีความบกพร่องด้านการคำนวณ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข จำนวน และความเชื่อมโยงของจำนวน ก
* เกณฑ์การวินิจฉัย DSM V
ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้
เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม
ออทิสติก เป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือสารเคมีบางอย่างของสมอง ทำให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการทางภาษาและสังคม เชื่อว่าโรคนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดา โดยในเด็กเล็กบางคนอาจมีลักษณะความผิดปกติให้พ่อแม่เริ่มสังเกตได้ แต่ในบางรายอาจจะยังสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจน
สังเกตพัฒนาการของเด็กได้ ดังนี้
- พัฒนาการด้านภาษา
- พูดช้า หรือยังไม่พูดเมื่อถึงวัยที่สมควร
- พูดคำซ้ำๆ
- พูดด้วยภาษาของตัวเองที่คนอื่นฟังไม่เข้าใจ
- พูดติดๆ ขัดๆ ไม่ชัดมากๆ
- พูดด้วยโทนเสียงที่ผิดปกติ
- พัฒนาการด้านสังคม (การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง)
- ไม่สบตา ไม่มองหน้า
- ไม่สื่อสารแสดงความต้องการของตัวเอง เช่น ไม่ชี้ไปที่ของที่อยากได้
- ไม่แสดงอารมณ์ทางสีหน้า ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ
- ชอบเล่นคนเดียวหรืออยู่คนเดียว ไม่สนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับใคร
บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการเจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท
มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
มักมีสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของร่างกาย และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ระยะนี้
2. โรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดความผิดปกติทางสายเลือด เด็กในครรภ์อาจดิ้นไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น มีภาวะโรคไขสันหลังฝ่อ หรือหรือเป็นโรคข้อติดยึด
3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด เช่นคลอดยาก คลอดโดยการใช้เครื่องมือ หรือผ่าตัดคลอด คลอดท่าก้น คลอดก่อนกำหนด หรือคลอดหลังกำหนด เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดหรืออาจมีเลือดออกในสมองทำให้มีความผิดปกติของสมอง